#กาแฟ "โรบัสต้า" กับมูลค่าทางการตลาด พืชเศฐกิจที่กำลังมาแรง มาดูความเป็นมา..
กาแฟโรบัสต้า มีถิ่นกำเนิดอยู่ในป่าธรรมชาติ อาฟริกา บริเวณเส้นศูนย์สูตรจากระดับความสูง ๑,๕๐๐ เมตร ชาวอาฟริกันในอูกานดาได้ปลูกกันเป็นจำนวนเล็กน้อยโดยใช้เมล็ดที่เก็บมาจากใน ป่า ก่อนนักสำรวจชาวยุโรปจะค้นพบต้นกาแฟนี้ถูกจำแนกและตั้งชื่อว่าCoffea canephora โดย Pierre ปี ค.ศ. ๑๘๙๗ และแพร่กระจายไปยังกรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยม โดยได้ชื่อว่า C.robusta ในการค้า คงเรียกว่า กาแฟโรบัสต้า เพื่อให้แตกต่างจากกาแฟอราบิก้า หลังจากนั้นได้ถูกส่งเข้าไปในชวา และพบว่ามีการเจริญเติบโตแข็งแรงดี และมีความต้านทานโรคราสนิมได้อย่างดี ดังนั้น จึงปลูกกันอย่างกว้างขวาง และตั้งแต่ปี คศ.๑๙๐๐ การปลูกกาแฟโรบัสต้าก็ได้แพรหลายทั่วไปในเขตร้อนชื้น ซึ่งสามารถปลูกได้ผลสำเร็จดีในระดับความสูงต่ำกว่าบริเวณที่ไม่เหมาะสำหรับ กาแฟอราบิก้า- และโรคราสนิม เป็นปัญหาสำคัญปัจจุบันยังคงเป็นพันธุ์ที่สำคัญที่สุดพันธุ์หนึ่งของอาฟริกา และ เอเซีย แต่มีปลูกกันน้อยมาก ในแหล่งปลูกกาแฟที่กาแฟอราบิก้ายังคงปลูกได้ดี
กาแฟโรบัสต้า มีถิ่นกำเนิดอยู่ในป่าธรรมชาติ อาฟริกา บริเวณเส้นศูนย์สูตรจากระดับความสูง ๑,๕๐๐ เมตร ชาวอาฟริกันในอูกานดาได้ปลูกกันเป็นจำนวนเล็กน้อยโดยใช้เมล็ดที่เก็บมาจากใน ป่า ก่อนนักสำรวจชาวยุโรปจะค้นพบต้นกาแฟนี้ถูกจำแนกและตั้งชื่อว่าCoffea canephora โดย Pierre ปี ค.ศ. ๑๘๙๗ และแพร่กระจายไปยังกรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยม โดยได้ชื่อว่า C.robusta ในการค้า คงเรียกว่า กาแฟโรบัสต้า เพื่อให้แตกต่างจากกาแฟอราบิก้า หลังจากนั้นได้ถูกส่งเข้าไปในชวา และพบว่ามีการเจริญเติบโตแข็งแรงดี และมีความต้านทานโรคราสนิมได้อย่างดี ดังนั้น จึงปลูกกันอย่างกว้างขวาง และตั้งแต่ปี คศ.๑๙๐๐ การปลูกกาแฟโรบัสต้าก็ได้แพรหลายทั่วไปในเขตร้อนชื้น ซึ่งสามารถปลูกได้ผลสำเร็จดีในระดับความสูงต่ำกว่า
ช่วงที่ผ่านมา ได้พูดถึงการพัฒนาภาคเกษตรของประเทศในอาเซียนของเรา ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาพันธุ์ของมาเลเซีย เพื่อส่งออกไปญี่ปุ่น การพัฒนาคุณภาพด้านพืชผักและผลไม้ของฟิลิปปินส์ เพื่อส่งออกไปยังสิงคโปร์ และการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ข้าวของกัมพูชา ซึ่งล้วนแต่จะส่งผลกระทบต่อตลาดสินค้าเกษตรของไทยทั้งสิ้น
เคยพูดหลายครั้งครับว่า ภาคการเกษตรของไทยเราน่าเป็นห่วงยิ่ง เป็นที่เกษตรกรของเราไม่ยอมเปลี่ยนพฤติกรรมเดิม โดยเฉพาะการปลูกพืชเศรษฐกิจ ชอบทำตามคนอื่นที่เห็นว่าผลผลิตขายได้ราคา จึงแห่กันปลูกพืชชนิดเดียวกัน สุดท้ายเกิดปัญหาผลผลิตล้นตลาด และทำให้ราคาสินค้าตกต่ำ จบท้ายด้วยการก่อม็อบ ชุมนุมประท้วงเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยประกันราคา ที่เลวร้ายไปกว่านั้น เมื่อเกิดโรคจะบาด จะสิ้นเนื้อประดาตัวยกโขยง
![]() |
อ.ปราโมช ใจมี |
ทุกวันนี้ก็ยังเป็นอย่างนั้นอยู่ครับ ดูเหมือนว่าจะไม่เข็ด ที่เห็นชัดคือเกษตรกรที่ปลูกกาแฟ โดยเฉพาะพันธุ์ "โรบัสต้า" ในภาคใต้ ซึ่งมีมากที่สุดที่ จ.ชุมพร ระนอง กระบี่ และสุราษฎร์ธานี ตอนนี้พอเห็นว่าปาล์มน้ำมันและยางพาราขายได้ราคาดี ยอมตัดต้นกาแฟทิ้งจนเกลี้ยง
กาแฟในโลกนี้มี 2 สายพันธุ์ คือ โรบัสต้า จะปลูกในพื้นที่ราบ ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่มากนัก บ้านเรานิยมปลูกทางภาคใต้ กาแฟสายพันธุ์นี้ผู้ประกอบการรับซื้อเพื่อนำไปแปรรูปเป็นกาแฟสำเร็จรูป และอีกสายพันธุ์หนึ่งคือ อาราบิก้า ที่ปลูกในพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 400 เมตรขึ้นไป นิยมปลูกตามดอยในภาคเหนือ กาแฟพันธุ์นี้นิยมผลิตเป็นกาแฟสดสูตรต่างๆ ที่กำลังได้รับความนิยมจากผู้บริโภคในขณะนี้
การโค่นต้นกาแฟเพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน และยางพาราในขณะนี้ เข้าขั้นวิกฤติครับ หากดูข้อมูลจากที่ท่านอธิบดีกรมวิชาการเกษตร "จิรากร โกศัยเสวี" ท่านบอกว่า สถานการณ์พื้นที่กาแฟไทยปัจจุบันลดพื้นที่ปลูกลดลงค่อนข้างมาก โดยเฉพาะกาแฟโรบัสต้าในภาคใต้ จากการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์คาดการณ์ว่า ปี 2555 เนื้อที่ให้ผลผลิตทั้งประเทศเหลือเพียง 302,000 ไร่ เพียงปีเดียวคือลดลงจากปี 2554 ถึง 2 หมื่นไร่ คิดเป็น 6.21% เพราะเกษตรกรนำพื้นที่ไปปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมันแทน
อย่าลืมครับว่า บ้านเรามีความต้องการใช้เมล็ดกาแฟเพื่อใช้บริโภคภายในประเทศสูงถึงปีละ 6.2 หมื่นตัน และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นทุกปี ขณะที่ปีนี้คาดว่าจะมีผลผลิตกาแฟโรบัสต้าเพียง 4.61 ตันเท่านั้น
สถานการณ์เช่นนี้น่าห่วงที่ว่า เพราะคนไทยเราขยายการดื่มกาแฟมากขึ้น แต่พื้นที่การปลูกน้อยลง จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ ที่เราจะต้องมีการนำเข้ากาแฟสำเร็จรูปจากต่างประเทศมากขึ้น แต่ก็ยังดีครับที่อีก 3 ปี เราจะมีการร่วมประเทศเป็นอาเซียนหนึ่งเดียว หรือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ซึ่งจะทำการภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน หรืออาฟตา (AFTA) อัตราภาษีเหลือ 0% สำหรับกาแฟสำเร็จรูป ทำให้การนำเข้าราคาอาจไม่สูงนัก เงินตราหลั่งไหลไปต่างประเทศไม่มากนัก
ในที่สุดทางกรมวิชาการเกษตรต้องหาช่องทางเพื่อเร่งปรับปรุงยุทธศาสตร์กาแฟใหม่ให้สอดรับกับสถานการณ์การค้าในปัจจุบัน เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาระบบการผลิตสินค้ากาแฟไทยให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานและตรงตามความต้องการของตลาดต่อไปครับ
รบกวนอ่านกันสักนิดแล้วท่านจะเข้าใจโลกแห่งกาแฟนะครับ
ผม ปราโมช ใจมี
กรรมการผู้จัดการบริษัท อราบิก้าคอฟฟี่ บีน
จะต้นหาคำตอบให้ท่านกระจ่างเกี่ยวกับกาแฟครับ
ที่มาข้อมูล>อ.ปราโมช ใจมี
(กรรมการผู้จัดการบริษัท อราบิก้าคอฟฟี่ บีน )
(ที่ปรึกษาด้านวิชาการบริษัทในเครือ บริษัทดงรักคอฟฟี่ จำกัด)
ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.dongrakcoffee.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น